จบกันไปแล้วกับแแฟชั่นโชว์จาก FASH SWU CCI ของนิสิตชั้นปีที่3 หรือ FASH22 กับการบอกเล่าแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green Economy) และความคิดสร้างสรรค์งานหัตกรรมภูมิปัญญาไทย ทั้งหมดใช้วัสดุเหลือใช้และของเก่าจากอุตสหกรรมแฟชั่นและต่างอุตสหกรรม สู่การทดลองเทคนิคทางหัตกรรมภูมิปัญญาไทย เพื่อให้เกิดเป็นทิศทางใหม่ และแสดงให้เห็นแนวคิดทางการออกแบบแฟชั่นที่ยั่งยืนจาก คนรุ่นใหม่ที่แท้จริง
และในครั้งนี้เราชวน เติ้ม- ดนีย์นาถ บุรกสิกร บรรณาธิการฝ่ายแฟชั่นของลิปส์ แมกกาซีน มาช่วยกันเลือก 10 คอลเลคชั่นที่ดีที่สุด ที่เรียกได้ว่า ALL THE NEW WAVES HAVE BEGUN !
Collection: égalité
รัณณ์ กีรติวรนันท์
Instagram : @r_runn
จากภาพยนตร์ Hidden Figures ที่สร้างมาจากเรื่องจริงในยุค space race ของอเมริกาช่วงปี 1960 พูดถึงผู้หญิงชาวแอฟริกัน-อเมริกัน 3 คน ที่ใช้ความรู้ ความสามารถในการทำงานที่ NASA เพื่อส่งนักบินอวกาศไปโคจรรอบโลก และต้องต่อสู้กับการ racism, gender equality, and civil rights ซึ่งนำเสนอผ่านการดีไซน์แบบ deconstruction, เสื้อผ้า unisex, and textile โดยนำแนวคิด BCG สู่การทดลองจาก ฟอยล์ลูกโป่งที่ใช้แล้วหรือแฟบ มาผสมกับเทคนิค free motion sewing เป็นpocket บนเสื้อผ้า และผสมผสานระหว่างการ layer ฟอยล์เป็นเส้น กับลาย stripe by handpainted เข้าด้วยกัน และอีกหนึ่งเทคนิค การวาดลวดลายเป็นบล็อกพิมพ์ผ้าด้วยกาว3D และปืนกาวร้อน บนกล่องกระดาษที่เหลือใช้มาทำเป็น stamp printing เป็นลายผ้าที่สื่อถึงความสำเร็จของผู้หญิงทั้งสามคนภายในคอลเลคชั่น
Collection: The Sinners
ปณต แก้วไพฑูรย์
Instagram : @eguyp
7 Deadly sins เมื่อบาป 7 ประการของคริสต์ศาสนา กลายเป็นแรงบันดาลใจของคอลเลคชั่นนี้ กับการพูดถึงอากัปกิริยา และท่าทางการแสดงออกของมนุษย์เมื่อกระทำบาปแต่ละอย่าง เกิดเป็นเสื้อที่เป็นการbody manipulation จัดร่างกายของผู้สวมใส่ให้อยู่ในลักษณะท่าทางตามอริยาบทตามแต่บาปนั้นๆ รวมถึงภาพลักษณ์ลักษณะการแต่งกายของนางฟ้าและเทวทูตในภาพวาดยุคกลางมาผสานเกิดเป็นซิลูเอทและดีเทล ผสมเข้ากับการใช้ภูมิปัญญาไทย คือการลงรักปิดทอง โดยการลงทองหลายๆชั้นเพื่อให้เกิดความหนาแล้วทำการขูดให้เกิดเป็นลวดลาย ทำให้มีพื้นผิวที่มีมิติมากขึ้น
Collection: Rainy day
นิภิวัฒน์ อ่ำเอี่ยม
Instagram : @opo2000
จากภาพถ่ายคอลเลคชั่น Rain ของคุณ Yoshinori Mizutani เป็นภาพถ่ายมุมสูงของทางม้าลายในกรุงโตเกียวในช่วงเวลาฝนตก ทำให้ผู้คนที่เดินข้ามทางม้าลายต้องกางร่ม และเมื่อมองจากมุมสู งลักษณะทรงกลมของร่มเหมือนกับดอกไม้ที่มาเบ่งบานอยู่ใจกลางเมือง จึงเกิดเป็นการนำองค์ประกอบของชุดพนักงานออฟฟิศเช่น สูท เสื้อเชิ้ต เนคไท และเสื้อผ้าชิ้นในต่างๆ มาผสมผสานกับเสื้อผ้ากันฝนและองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ฮูดดี้ สีสะท้อนแสง คุณสมบัติผ้ากันเปียก และชุดกันฝนแบบponcho ที่มีลักษณะเหมือนดอกไม้ที่เหี่ยว เปรียบเสมือนว่าเมื่อฝนตกเมื่อไหร่มันก็จะพร้อมกลับมาบานอีกครั้ง โดยชุดทุกชุดออกแบบและใช้ผ้าที่มีคุณสมบัติสามารถกันน้ำได้ ผ่านการนำ BCG ผ้าร่มจากร่มพังมาใช้เป็นสีสันให้กับคอลเลคชั่น
Collection: The imperfection
ชนัยชนม์ บุญสร้าง
Instagram : @chanaichonbs
จากโรคออฟฟิศซินโดรมในกลุ่มคนที่มีอาการกระดูกสันหลังคด มาใช้ในการพัฒนาแนวคิดรูปแบบเสื้อผ้า คนกลุ่มนี้จะมีสรีระร่างกายที่ผิดปกติ ไหล่, สะโพก และกระดูกสันหลังไม่สมมาตร เกิดเป็นSilhouetteของเสื้อผ้า ถ่ายทอดความเจ็บปวดผ่านMaterials ผสมกับSub inspiration คืองานศิลปะของHannah levy ที่มีชื่อว่า Design purgatory โดยสังเคราะห์มาจากร่างกายของมนุษย์ นำมาตีความใหม่ นำเสนอเป็นซิลิโคนที่ห่อหุ้มเหมือนเสื้อเกราะพยุงหลังที่ไว้ใช้รักษาโรคกระดูกคด โดยนำBCG อย่างคอเซ็ทและชุดชั้นในมือ2มาปรับสภาพให้สวมใส่แล้วรู้สึกสบาย รวมถึงเทคนิคอื่นๆ กลายมาเป็นเสื้อผ้าแบบ Creative Ready to wear
Collection : C.O.C PLANET
วรรณิดา เสถียรโสภณ
Instagram : @w.nnd
จากงานศิลปะของ JESSE KANDA (gothic surrealist art) ศิลปินใช้วิธี inside-out คือการนำเอาชิ้นส่วนอวัยวะและองค์ประกอบต่างๆที่อยู่ภายในร่างกาย ดึงออกมาให้เป็นรูปร่างที่สะท้อนมาภายนอกร่างกาย ทำให้เกิดงานศิลปะที่มีรูปร่างบิดเบี้ยวและอิสระ พัฒนาเป็นแนวคิดในคอลเลคชั่น โดยการนำอวัยวะหรือชิ้นส่วนต่างๆ มาคอลลาจและขึ้นสเก๊ตช์ใหม่ เพื่อหารูปทรงของร่างกาย ผ่านการใช้เทคนิคจากภูมิปัญญาไทย อย่างการเย็บจากใบสาคู การซ้อนและยึดชิ้นส่วนเล็กๆจำนวนมากด้วยสิ่งๆหนึ่ง มาพัฒนาต่อเป็นเทคนิคที่ใช้ในคอลเลคชั่น ที่ยังสามารถสะท้อนการซ้อนกันหรือเรียงตัวเป็นชั้นๆของกล้ามเนื้อและอวัยวะไปพร้อมๆกัน และการเลือกใช้หนัง เพื่อสะท้อนถึงผิวสัมผัส และความหนาบางที่ใกล้เคียงกับผิวหนัง สร้างVolumeและสวยงามมากยิ่งขึ้น
Collection : IMPROVE FROM INSIDE
กนกพร ไชยสิทธิ์
Instagram : @junekpcs
“MardiGrass” คือการรวมตัวของกลุ่มชุมนุมประท้วงและขบวนพาเหรดที่ต้องการเรียกร้องให้กัญชาเสรี ในเมือง Nimbin และเมื่อมองย้อนกลับมาในประเทศไทยที่ยังไม่เสรีจริงในมุมมองของเกษตรกรและ ผู้ประกอบการสายเขียว นักออกแบบจึงนำ “เส้นใยกัญชง” มาพัฒนาเพื่อยกระดับในการผลิตสิ่งทอให้ร่วมสมัยโดยนำแนวคิด BCG และภูมิปัญญาไทย มาต่อยอดให้มีคุณค่าและเรื่องราวที่ส่งมอบให้ผู้บริโภคให้เกิดการสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน
Collection name : F
ยุวดี มูลทรา
Instagram : @bammyuwadee
เเรงบันดาลใจของคอลเล็คชั่น “ F ” มาจากหนังเรื่อง Alita battle angel เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 26 ที่เล่าถึงเรื่องราวของไซบอร์กสาว อลิตา ในมหากาพย์การผจญภัยครั้งนี้อลิตะจะต้องออกเดินทางค้นหาตัวตนของเธอที่สูญหายไป โดยใช้ทฤษฏีหลักความคิดของ ลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ (futurism) ยึดหลัก 2 ประการ คือ ความเคลื่อนไหวของร่างกายในอวกาศ และความเคลื่อนไหวของวิญญานในร่างกาย กลายมาเป็นวิธีเขียนภาพที่เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหว ผสมเข้ากับ Sub-Concept คือ ประติมากรรมบรอนซ์ Unique Forms of Continuity in Space (1913) ของUmberto Boccioni ใช้โลหะ ซึ่งเป็นวัสดุที่สามารถคดโค้ง นำมาสร้างสรรค์งานผ่านภูมิปัญญาไทยอย่างผ้าทอมือ ย้อมด้วยสีธรรมชาติ เปรียบเสมือนการเคลื่อนไหวที่พุ่งออกจากกันเเต่ในเวลาเดียวกันก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
Collection name : ระลึก (Raleuk)
สาธิต จงประเสริฐ
Instagram : @Whodafxckisinoang
จากการไปร่วมงานฌาปนกิจศพที่วัด ทำให้หันกลับมาคิดและทบทวนว่าช่วงเวลานั้นสำคัญกับคนเรามากขนาดไหน ตอนอยู่เราอาจจะมองข้ามไม่ได้ใส่ใจ แต่พอความตายใกล้เข้ามาเราก็จะโหยหาและนึกถึงแต่สิ่งดีที่เคยทำร่วมกัน ดังคำพูดที่กล่าวไว้ว่า “ ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งนำ้ตา ”การระลึกถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้วจึงกลายเป็นคอนเซ็ปต์หลักของคอลเลคชั่น ผ่านองค์ประกอบต่างๆในงานฌาปนกิจศพ อาทิพวงหรีดดอกไม้ พวงหรีดผ้า ดอกไม้หน้าศพ ถ้อยคำที่ติดปากและคำที่ทำให้นึกถึงผู้เสียชีวิต ด้วยเทคนิคการปักลูกไม้ 3 สี ให้เกิดความรู้สึกอาลัยและการสกรีนผ้าด้วยมือ ผ่านสีจมโทนร้อนเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่อบอวลไปด้วยความรู้รักและคิดถึงการจากไปที่ไม่มีวันหวนกลับ
Collection name : No Kyoudai(s)
จิรเมธร วังสุนทร
Instagram : @gswagfuckingyungdeed
“Battle royale” ภาพยนตร์สัญชาติญี่ปุ่น ที่พูดถึงยุคที่ประเทศญี่ปุ่นกำลังตกต่ำอย่างมาก เศรษฐกิจพังคน หลายคนตกงาน และเด็กไม่สนใจที่จะเรียน และได้มีการเกิดเสียชีวิตในสถานศึกษามากมายจากการปฏิบัติหน้าที่ของอาจารย์ ดังนั้นปัญหาของวัยรุ่นจึงกลายเป็นปัญหาระดับชาติ รัฐบาลจึงได้สร้างเกมส์ที่มีชื่อว่า “BR” ขึ้นโดยในแต่ละปีจะสุ่มเลือกนักเรียนมาหนึ่งชั้นเรียนแล้วเอาไปปล่อยบนเกาะร้างเพื่อให้เล่นเกมส์และฆ่ากันเองเพื่อหาผู้รอดชีวิตเพียงผู้เดียว ในแต่ละฉากของหนังจะมีความโหดและสยอง จนกลายเป็นการดึงซิลลูเอท Bodies exhibition ของศพมาพัฒนาร่วมกับ BCG เศษหนัง และเทคนิคยางพาราหล่อ(Liquid Latex) ทำให้เกิดลาย อวัยวะต่างๆ textureให้ความนูน และยังสามารถหล่อเป็นแผ่นเพื่อให้ความรู้สึกเหมือนเนื้อมนุษย์มากขึ้นอีกด้วย
Collection: The Comforter
ชนกานต์ เมฆจำเริญ
Instagram : @yun.channy
การพูดถึงระบบทุนนิยมที่ผลักภาระการดูแลแรงงานในระบบ ให้แก่ผู้หญิงในครัวเรือนต่างๆ ส่งผลให้ผู้หญิงต้องรับผิดชอบทั้งหน้าที่ในการดูแลคนในครอบครัว และความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตนเอง ความเหน็ดเหนื่อยที่ไม่ได้สิ้นสุดแค่การทำงานนอกบ้าน แต่เมื่อกลับมาแล้วยังต้องคอยอำนวยความสะดวกให้แก่คนในบ้าน หากเปรียบแล้วก็เหมือนการทำหน้าที่เป็น furniture หรือสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้าน ที่คอยให้ความสะดวกสบายแก่คนในครอบครัว เพื่อดูแลแรงงานของระบบทุนนิยมให้มีกำลังมากพอที่จะออกไปทำงานในวันต่อไป โดยคอลเลคชั่นนี้ได้นำการสร้าง Bioplastic มาใช้ เพื่อทดแทนการใช้ Plastic ที่กำลังทำลายโลกในขณะนี้ ผ่านลวดลายที่ถ่ายทอดออกมา จากลายไม้ของ furniture ภายในครัวเรือนที่เห็นกันอย่างคุ้นตา