“หลังจากเวอร์จิล แอ็บโลห์ เราก็ไม่สามารถเอาแฟชั่นดีไซเนอร์เฉยๆมานั่งเก้าอี้นี้ได้อีก” นั่นคือต้นตอความคิดของบรรดานายใหญ่ที่ LVMH บ้านใหญ่ของ Louis Vuitton จึงเกิดเหตุการณ์โทรจีบ ฟาเรลล์ วิลเลียมส์ นักร้อง โปรดิวเซอร์และอินฟลูเอนเซอร์สายแฟที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งแห่งยุค ให้มานั่ง ‘เก้าอี้’ ที่มีป้ายแปะว่า ‘ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แผนกเครื่องแต่งกายชาย’ ของ Louis Vuitton ซึ่งได้เปิดตัวไปเมื่อ 20 มิถุนายน
ปงเนิฟ สะพานเก่าแก่ที่สุดในปารีส ที่อยู่ห่างจากสำนักงานใหญ่ของ LV ไปไม่มาก ฟาเรลล์ปิ๊งไอเดียให้ปูลายตารางหรือ ลายดามิเยร์สีทองสุกปลั่งบนผิวสะพาน แล้วปล่อยนางแบบและนายแบบออกไปเดินข้ามสะพานในคอลเล็กชั่นแรกของตนที่ LV จากฝีมือการทำสไตลิ่งของ แมตธิว เฮนสัน สไตลิสต์ส่วนตัวและ ซินเธีย หลู่ อดีตผู้ช่วยที่ออกไปสร้างแบรนด์สตรีทแวร์ Cactus Plant Flea Market มิน่า คอลเล็กชั่นเดบิวต์นี้จึงเหมือนตู้เสื้อผ้าของฟาเรลล์ได้อีก
Photo: @vision_meets_design, Louis Vuitton
Photo: @vision_meets_design
Louis Vuitton มียอดขายราวๆ 2 หมื่น หน่วยคือล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 7 ล้านล้านบาท นี่คือยอดขายในปีเดียวเท่านั้น นั่นทำให้ LV คือแบรนด์ใหญ่ที่สุดในโลก คนที่ทำให้แบรนด์เติบโตขนาดได้ก็คือ เวอร์จิล แอ็บโลห์ ครีเอทีฟไดเร็กเตอร์แผนกเครื่องแต่งกายชายของ LV ซึ่งผนวกแฟชั่นกับศิลปะ งานดีไซน์ การต่อต้านการเหยียดผิว และวัฒนธรรมของคนผิวดำ สมกับที่เป็นคนผิวดำรายแรกที่ได้นั่งตำแหน่งนี้ในประวัติศาสตร์แฟชั่น หลังจากเข้ามาพลิกวงการในปี 2018…อย่างกะทันหันเกินใครจะคิดทัน เวอร์จิลได้จากไปในปี 2021
Photo: Louis Vuitton, Getty Images, Launchmetrics Spotlight
ในเดือนธันวาคม ปี 2022 อเล็กซองเดรอ อาร์โนลด์ ทายาทคนหนึ่งของ LVMH ส่งข้อความหาเพื่อนสนิทว่า “โทรกลับด้วย ถึงเวลาแล้ว” เพื่อนคนที่ว่านั้นก็คือ ฟาเรลล์ วิลเลียมส์ ซึ่งที่สุดแล้วก็ตกลงรับงานแบกแบรนด์ระดับ 2 หมื่นล้านเหรียญ ทั้งที่นักร้องค่อนวงการต่อคิวให้ฟาเรลล์เป็นโปรดิวเซอร์ให้ และเป็นมิวส์ของ Chanel ชิลๆไปก็จบ ทำไมอยากมาเหนื่อยตอนอายุ 50?
Photo: Louis Vuitton, Launchmetrics Spotlight
ฟาเรลล์เซ็นสัญญากับ LV ในวันวาเลนไทน์ปี 2023 จัดการย้ายลูกเมียจากบ้านในไมอามีและเวอร์จิเนียไปอยู่ปารีส แล้วเข้าไปทำงานที่ LV ด้วยทัศนคติที่ว่า ไม่ได้มาเป็นผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ แต่มาเป็นนักเรียนและลูกค้า “ผมไม่เคยเข้าเรียนแฟชั่นจากเซนต์มาร์ตินส์ แต่ผมเข้าไปช้อปปิ้งตามร้านค้าแฟชั่นมานาน และผมรู้ว่าผมชอบอะไร”
Photo: Louis Vuitton
ชอบไหมกับแอดแคมเปญแรกของฟาเรลล์ ที่จับแม่ค้ามาขึ้นบิลบอร์ดกลางปารีส ฟาเรลล์กล่าวอย่างสะใจว่า “ริฮานน่าเป็นผู้หญิงผิวดำ แถมตั้งท้องด้วย” นี่ละโฉมหน้าของป๊อปคัลเจอร์ในยุคนี้ แถมฟาเรลล์ยังชี้ให้เห็นว่า ท้องแก่ใกล้คลอดของรีฮานน่าคือเซ็นเตอร์ของรูปนี้ที่ถูกจัดวางตามสัดส่วนทองคำ (Golden Ratio ส่วนของเส้นที่ถูกแบ่งให้ตรงตำแหน่งที่ก่อให้เกิดสัดส่วนที่งดงามที่สุดคือ 1 : 1.618 ค้นโดย เลโอนาร์โด ฟีโบนัชชี นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี) หรือบอกเป็นนัยว่า นี่คือโฆษณาขายของที่ดูเหมือนฮาร์ดเซล แต่จริงๆแล้วมันคืองานศิลปะ เฉกเช่นเดียวกับภาพเขียนโบราณที่วาดตามสัดส่วนทองคำทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภาพหญิงสาวกับต่างหูมุกของเวอร์เมียร์ หรือโมนาลิซ่าของดาวินชีเองก็ตาม
Photo: Louis Vuitton, Launchmetrics Spotlight, @mensjournalonline
แขนของริฮานน่าและนายแบบทำหน้าที่เป็นราวแขวน Speedy กระเป๋ารุ่นที่ถือว่าก่อร่างสร้าง LV ให้ยิ่งใหญ่ แต่ฟาเรลล์ไม่ได้ค้นคลังเก่าของแบรนด์ไปดูงานดีไซน์กระเป๋าที่มีต้นแบบจากกระเป๋าหมอที่เปิดตัวในยุค 1930 แรงบันดาลใจของนายใหม่แห่ง LV มาจากกระเป๋าก็อปที่ขายตามถนนคานัลในนิวยอร์ก ซึ่งฟาเรลล์ตื่นตาตื่นใจกับ Speedy งานมิเรอร์ในไซซ์และสีที่ทาง LV เองยังคิดไม่ได้ ว่าแล้วแบรนด์ต้นแบบจึงก็อปกระเป๋าก็อปอีกที…ไม่งงนะ จึงได้ Speedy สีแจ๋นแหล๋น(ที่ดูปลอม แต่เป็นของแท้) โดยเฉพาะ Speedy 40 สีส้มที่ทำขายแค่ 200 ใบ ราคาพุ่งไปที่ 9,000 ยูโร
Photo: The Impression, lv_collectibles
Photo: Louis Vuitton, Launchmetrics Spotlight, office2143
LVMH โดนวิจารณ์แหลกว่า ดีไซเนอร์เก่งๆมีล้นไป ทำไมไปเอานักร้องมาทำแฟชั่น ปิเอโตร เบกคารี ซีอีโอคนใหม่ของ LV ตอบสวยๆว่า ต้องการคนที่มีความสามารถกว้างขวางไปกว่าแค่ทำเสื้อผ้าสวยๆ เพราะหลังจากสิ่งที่ทำเวอร์จิลได้ทำไว้ แฟชั่นต้องการมากกว่าแค่ดีไซเนอร์เก่งๆ
Photo: Launchmetrics Spotlight, Getty Images
Photo: Louis Vuitton, Launchmetrics Spotlight
Photo: Louis Vuitton
ขณะที่ฟาเรลล์ยอมรับตรงๆไปเลยว่า ตระกูลอาร์โนลด์ เจ้าของ LVMH รู้ดีว่า กลิ่นเงินของคนดำชาวอเมริกัน หรือพูดให้ตรงกว่านั้นคือผู้ที่เสพวัฒนธรรมคนผิวดำต่างหาก ไม่ว่าจะเป็นฮิปฮอป กีฬา งานศิลปะ ซึ่งระบาดไปทั่วโลก ขอให้ดูโฉมหน้าแขกฟรอนต์โรว์ในโชว์นี้ ไม่ว่าจะผู้เสพจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตามว่าตนโดนวัฒนธรรมคนผิวดำจากอเมริกาตกเข้าให้แล้ว และกลิ่นเงินของพวกเขานั้นหอมหวานยิ่ง การจะเจาะกระเป๋าเงินของผู้เสพวัฒนธรรมคนผิวดำ ทาง LV ต้องเจาะคอมมูนิตี้คนดำให้ได้ และฟาเรลล์ก็เดินหน้าปฏิบัติการนี้ทันที
หลังจากจับนักร้องผิวดำมาถ่ายแคมเปญแล้ว ก็จะเชิดชูคนดำอีกหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการผิวดำ นักเขียนผิวดำ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ผิวดำ ไปจนถึงแชมป์ตกปลากระพงผิวดำ นี่ต่างหากคือความหมายที่แท้จริงที่ LV จะเปลี่ยนตัวเองจากแบรนด์แฟชั่นไปเป็นแบรนด์วัฒนธรรมของคนผิวดำ เพราะ “ท้ายที่สุดคนผิวดำเป็นคนขับเคลื่อนวัฒนธรรม” พูดง่ายๆว่า Louis Vuitton ในยุคของฟาเรลล์คือการแต่งงานของวัฒนธรรมคนผิวดำกับงานฝีมือแบบฝรั่งเศส ซึ่งทั้งสองอย่างคือสินค้าส่งออกทรงพลังที่สุดของอเมริกาและฝรั่งเศส
Photo: @beyonce
Photo: @kimkardashian
Photo: @bambam1a
Photo: @jacksonwang852g7
Photo: @naomi, @dayascamera
ในปี 2003 มาร์ก เจคอบส์ ครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ในยุคนั้นของ LV ชวนฟาเรลล์มาร่วมออกแบบแว่นกันแดด ซึ่งได้ผลลัพธ์เป็นแว่นรุ่น Millionaires ติดเพชรวิ้งที่ยังวางขายจนทุกวันนี้ และฟาเรลล์ซึ้งใจกับ LV มานับแต่นั้น เพราะ “มาร์กให้โอกาสผม ในขณะที่ไม่มีใครสักคนให้โอกาสอะไรพวกเรา (คนผิวดำ) ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์”
In My Mind: The Prequel มิกซ์เทปปี 2006 ของฟาเรลล์ เขาแร็ปว่า “We wanted this life, we salivated like wolves/ Blow a hundred grand on LV leather goods” ราวกับรู้ว่าสักวันหนึ่ง (ผู้เสพวัฒนธรรม)คนผิวดำจะได้มาโปรยเงินใส่กระเป๋า LV จริงๆ
Photo: Getty Images
Words: Suphakdipa Poolsap
ข้อมูลจาก