Search
Close this search box.
Search
Close this search box.
HOME / Fashion / Trends

‘ผู้ชายใส่กระโปรง’ อาจไม่ใช่แค่เทรนด์แฟชั่นในยุคไร้เพศอีกต่อไป

ลบภาพ ‘กระโปรง’ กับผู้หญิง แล้วทุกเพศจะพลิ้วไปด้วยกัน
Fashion / Trends

หากเซต ‘กระโปรง’ เป็นแค่ไอเท็มชิ้นหนึ่งใน ‘Wardrobe Essentials’ ของทุกคน ที่เอามามิกซ์แอนด์แมตช์ลุคสบายๆ เหมือนกับคราวที่หยิบกางเกงยีนส์กับเสื้อยืดขาวมาแต่งตัว ประเด็น ‘ผู้ชายใส่กระโปรง’ คงไม่ใช่เรื่องกอสซิปสนุกปากบนโลกใบนี้แน่

นินทา “ผู้ชายใส่กระโปรงในปี 2023”

ยินดีต้อนรับเข้าสู่โลกแห่งการนินทา “ผู้ชายใส่กระโปรงในปี 2023” เริ่มที่ใครก่อนดี ล่าสุด Robert Pattinson ผู้ชายที่เคยได้รับสมญานามว่าหล่อที่สุดในโลกตามหลักสัดส่วนทองคำของกรีกโบราณปรากฏตัวในลุคกระโปรงสั้นร่วมชมโชว์ Dior Men อย่างหล่อมากและไม่ติดที่ใส่กระโปรง แต่ติดใจจนมองว่าเป็นอีกลุคที่อยากให้ผู้ชายร่างสูงโปร่งแต่งตาม

Robert Pattinson ในลุคกระโปรงสั้นร่วมชมโชว์ Dior Men
Photo: Dior and Rasita Crouzatier

หรือครั้งที่แด๊ดดี้ Brad Pitt ปรากฏตัวใส่กระโปรงผ้าลินินสีน้ำตาลในงานฉายรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์ Bullet Train ทำให้ต้องรีบตีตั๋วดูหนังอุดหนุนผลงานพ่อทันที

Brad Pitt ใส่กระโปรงผ้าลินินสีน้ำตาลในงานฉายรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์ Bullet Train
Photo: Ben Kriemann / Getty Images

เจ้าลัทธิผู้ชายใส่กระโปรง Harry Styles สวมชุดกระโปรงให้ยลตามงานอีเวนต์และคอนเสิร์ตอยู่บ่อยครั้ง จนคนค่อนโลกโดนตกในลุคข้ามเพศของพี่เขา จนต้องติดตามว่าลุคต่อไปจะเหลาใจแค่ไหน

Androgynous Fashion เกิดขึ้นเพื่อปฏิวัติ

“หมดยุคของการติแล้ว ตื่นค่ะ! ลุกขึ้นมาแต่งตามใจตัวเองเถอะ” การแต่งลุค Androgynous Fashion* อาจกลายเป็นเรื่องเก่าของการปฏิวัติแสวงหาความเท่าเทียมกัน ลบล้างบรรทัดฐานสังคม ที่ครั้งหนึ่งในช่วงปี 1990s ยุครุ่งเรืองของกรันจ์ เคยเป็นเรื่องฮือฮาของ Kurt Cobain นักร้องนำแห่ง Nirvana (ผู้เป็นตำนานและต้นแบบของวงร็อกในปัจจุบัน) ลุกขึ้นมาแต่งตัวเดรสตุ๊กตา กรีดอายไลเนอร์ สวมเทียร่าขึ้นแสดงคอนเสิร์ต เพื่อตั้งคำถามกับข้อจำกัดเรื่องเพศกับสังคม เป็นอีกหนึ่งกรุบที่ฟาดไปแรงมากในยุคนั้น 

Note: Androgynous Fashion คือ สไตล์การแต่งตัวหรือการแสดงออกที่ไม่สามารถระบุความเป็นชายหรือหญิงได้อย่างชัดเจน และการแต่งตัวสไตล์นี้ก็ไม่จำเป็นว่าต้องเกี่ยวข้องกับรสนิยมทางเพศด้วยเช่นกัน

Kurt Cobain นักร้องนำแห่ง Nirvana ขึ้นปกนิตยสาร The Face ฉบับเดือนกันยายน ปี 1993 ในเดรสเบบี้ดอลล์
ปกในตำนาน เมื่อป๋าเคิร์ทขึ้นปกนิตยสาร The Face ฉบับเดือนกันยายน ปี 1993 ในเดรสเบบี้ดอลล์
Photo: The face

แต่เมื่อยุคที่มีความเหลื่อมล้ำมันอยู่ทุกหนแห่งบนโลกใบนี้มิอาจเสื่อมคลายไปได้ การเรียกร้องด้วยดีเทลครึ่งๆ กลางๆ ของสไตล์ Androgynous Fashion ก็อาจมูฟออนหลุดจากตรงนี้ไปไม่ได้สุด การเกิดของ ‘Genderless Fashion’ ไร้เพศ ไร้ข้อกำหนด แบบโนสนโนแคร์กับคำติขึ้นมา จึงเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนทรงพลังในอุตสาหกรรมแฟชั่นที่หลายแบรนด์เปลี่ยนดีเทลที่แสดงความเป็นหญิง ความเป็นชายผ่านเสื้อผ้า แอ็กเซสเซอรีส์ต่างๆ ด้วยการเล่าใหม่โดยไม่ระบุเรื่องเพศ แต่นำดีเทลเหล่านี้มาส่งเสริมกับสรีระของมนุษย์ให้ดูสุนทรีย์ขึ้นเมื่อสวมใส่ หรือฟังก์ชั่นของไอเท็มที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวัน

Genderless Fashion พลังเงียบที่ตะโกนโค-ตะ-ระดัง!

ต่อจากนี้ ‘ผู้ชายใส่กระโปรง’ จะไม่กลายเป็นหัวข้อในการเมาท์มอยอีกแล้ว (ถ้าคุณเปิดใจ) เพราะเทรนด์การแต่งตัวแบบ Genderless น่าพูดถึง ตีความสนุกมากกว่า ทั้งความแปลกใหม่ของแฟชั่นไร้เพศที่เต็มไปด้วยความอิสระของการตีความ แต่ระวังส่องไปส่องมากด F ไม่รู้ตัว 

เชื่อ LIPS อย่าคิดเยอะ แค่สนุกกับการแต่งตัวเพื่อตัวเอง แค่นี้เติมพลังออกไปสู้กับความเบาหวิวเหลือทนของชีวิตกันแล้ว

Words: Patsaraporn Chanamueng

ที่มาของข้อมูล

Related Articles

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้ เราได้อธิบายความหมายและวิธีการใช้คุกกี้ของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถเข้าใจแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือการเปิดเผย รวมถึงทางเลือกในการใช้คุกกี้ของเรา อ่านเพิ่มเติม