Gen Z ว่าที่ผู้บริโภครายใหญ่ของโลก คือ วัยที่ขับเคลื่อนชีวิตด้วยความเช่ือมั่นท่ีหนุนหลังด้วยข้อมูล เดินหน้าด้วย passion และปลุกปั้นผลลัพธ์ด้วยความหวังดีต่ออนาคตของตนและโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่ดีไซเนอร์หน้าใหม่จะฟูมฟักแบรนด์ด้วยแนวคิดนี้ ด้วยเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่โลกแฟชั่นจะคิด และทำอย่างยั่งยืนได้เสียที
SHONE PUIPIA
ระบบแฟชั่นที่ทำกันอยู่น้ันรังแต่จะก่อให้เกิดขยะโดยไม่จำเป็น ตั้งแต่การทำเสื้อผ้าไซส์นางแบบและดีไซน์ที่ผลิตไม่ได้จริง เพียงเพื่อจะไปอยู่ในแฟชั่นโชว์ “สุดท้ายก็ต้องปรับแก้และทำใหม่ เพื่อให้ราคาถูกลงและมีดีไซน์ที่ขายได้” โชน ปุยเปียเล่า sample จากแฟชั่นโชว์บวกกับสต็อกที่ขายไม่ออกของแบรนด์ทั่วโลก กลายเป็นขยะในชั่วพริบตา ดังนั้น Shone Puipia จึงถูกสร้างขึ้นมาด้วยแนวคิด และกระบวนการผลิตสินค้าแฟชั่น ด้วยวิธี Custom-made วัดตัว ตัดเย็บทุกชิ้นเฉพาะบุคคล ที่มีของเหลือทิ้งเป็นศูนย์ นับจาก The Wild Bunch คอลเล็กชั่นแรกที่ทำธีสีสสมัยเรียนจนถึง Fever คอลเล็กชั่นปัจจุบันที่ร่วมงานกันกับ One More Thing แบรนด์พื้นผิวและสิ่งทอ ‘นอกคอก’ ออกแบบและพัฒนาผ้าทอแจ๊กการ์ดถึง 28 ลาย ทุกช้ินถูกแขวนไว้อย่างดีประหนึ่งนิทรรศการศิลปะที่ SOI 3 สตูดิโอและสเปซแสดงผลงานของ Shone Puipia วิธีการปฏิบัติต่อเสื้อผ้าเช่นนี้ ทำให้งานทุกชิ้นของโชนไม่มีคำว่าเอาท์ ซีซั่นที่แล้วๆ มายังถูกช่ืนชมและสั่งตัดไปสวมใส่โดยคนทุกเพศ ทุกวัยที่เชื่อในแฟชั่นยั่งยืน
VINN PATARARIN Collective
ตั้งแต่ 7 ปีที่แล้วจนถึงตอนนี้ VINNPATARARIN โดย แชมป์-วิณ โชคคติวัฒน์ และฝน-ภทรฤน พงษ์ประสิทธิ์ ยังคงเป็นแบรนด์แฟชั่นไทยหนึ่งเดียว ที่ใช้ Digital Craft เป็นแก่นในการทำแฟชั่นที่ใช้ฝีมือแต่ไม่ใช่งานหัตถกรรมที่ใช้คนนั่งจักสานถักทอ แต่ใช้มือคนทำโปรแกรมออกแบบลวดลายเลเซอร์คัทอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ หลายปีที่ทำงานด้วยวิธีการนี้ กองผ้าและวัสดุทำงานก็พอกพูน กระท่ังปีนี้เองที่ทั้งสองตัดสินใจ “แยกแยะการรับรู้ของคน” ออกไลน์ใหม่ในช่ือ VINN PATARARIN Collective ที่ทำเสื้อผ้าขึ้นใหม่จากผ้าช้ินเก่าที่แน่นอนว่ายังเห็นปุ๊บ รู้ปั๊บได้ทันทีว่านี่คือ VINN PATARARIN ด้วยลายที่เกิดจากเลเซอร์คัท แต่ Collective มิได้มาพร้อมคำสัญญาว่าจะมาตลอดมีให้ซื้อเสมอ เพราะผู้กำหนด คือ วัสดุเหลือใช้ถ้าไม่มีเหลือให้ใช้ก็ไม่มีสินค้าจากไลน์ VINN PATARARIN Collective
Pipatchara
นักเรียนทุนจาก Ecole de la Chambre Syndicale de la Couture Parisienne เพชร-ภิพัชรา แก้วจินดา แสวงหาประสบการณ์ทำงานที่ Chloé และ Givenchy 5 ปีก่อนจะกลับบ้านเกิดมาเปิดแบรนด์ไทยในชื่อตนเองที่โดดเด่นด้วยดีไซน์หนังถักแบบ Macramé ซึ่งหนักแน่นและรัดกุมในแนวคิด Sustainability ท่ีพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกหนังวีแกนท่ีทำจากต้นกระบองเพชรจากเม็กซิโกซึ่งทนทานระดับทำโซฟาได้สบายการร่วมมือกับนักศึกษาในอีสาน คิดค้นวัสดุใหม่ทำจากกากเมล็ดกาแฟผสมกับพลาสติกรีไซเคิล ไปจนถึงการสร้างอาชีพให้ครูในจังหวัดเชียงรายได้ฝึกฝนทักษะถักหนังมาทําเป็นกระเป๋า It Bag รุ่นฮิต (ที่ Olivia Palermo สั่งซื้อเองถือเอง) กับรองเท้า และล่าสุดแตกไลน์มาทำเสื้อผ้าลินิน ภายในเวลาแค่ไม่กี่ปีเท่านั้นแต่ช่างสรรหาสารพัดวิธี สารพันวัสดุมาทำแฟชั่นยั่งยืนได้อย่างน่าชื่นชม
FORREST
เซปป์-กัญกาญจน์ทัด เขษมคุณา ก่อตั้ง FORREST มาตั้งแต่ปีค.ศ. 2015 และยังคงยึดมั่นในการทำแบรนด์แอ็กเซสซอรี่ กระเป๋า และนาฬิกาที่ทำจากหนัง ไม้ ใบไม้ และหิน อย่างคงเส้นคงวาจนถึงปัจจุบัน วัสดุธรรมชาติเหล่านี้ทางแบรนด์ไปขอมาจากธรรมชาติที่มีวัฏจักรเกิด ใหม่แล้วร่วงโรย โดยไปจับวัสดุในจังหวะใกล้จะร่วงโรยมาชุบชีวิตใหม่ อาทิ ใบไม้ใกล้ร่วง ไม้เหลือจากอุตสาหกรรมไม้ เป็นต้นแล้วนําไปผ่านกระบวนการให้วัสดุธรรมชาติคงสีสัน และลวดลายเดิมเอาไว้เพื่อให้แต่ละไอเท็มมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ที่ต่างออกไปคือน้ำหนักท่ีเบา และผิวที่บางมาก จนทำให้กระเป๋าประดับแผ่นหินหรือแผ่นไม้กลับมีน้ำหนักเบาและสัมผัสละมุน ราวกับถือสายไหมปีต่อๆ ไปของแบรนด์กัญกาญจน์ทัด ยังคงมองหาที่จะทำสัญญาฉบับใหม่กับวัสดุธรรมชาติอื่นๆ ในโมงยามอันร่วงโรยของมันต่อไป
FLAWS
instagram: @whatflaws.__
แบรนด์เสื้อผ้าที่เทลล่า-จิราพรรณ ยูปานนท์ เปลี่ยนงานสำเร็จรูปให้เป็นงานรีเมคแฮนด์เมดสุดยูนีค อาทิ เบลเซอร์เพ้นต์มือลาย Nude ลายเส้นประจำตัวของเทลล่า และกางเกงยีนส์เก่ามาฟอกสีด้วยมือเป็นยีนส์สีท้องฟ้าสดใสซึ่งทุกชิ้นสวย ดิบ ประณีต สไตล์ Wabi Sabi (ความงามในความไม่สมบูรณ์แบบ) เสียจนต้องถามว่า “ไหนข้อบกพร่อง? เอาปากกามาวงซิ”
Sasi Knits
instagram: @sasiknits
ฝึกงานท่ี Eckhaus Latta แบรนด์นอกระบบในแอลเอ และที่ Alexander Wang แบรนด์ลูกรักของวงการแฟชั่นในนิวยอร์ก ทำให้จิ๊ – ศศิ จันทรวิโรจน์ ที่เรียนจบด้านเท็กซ์ไทล์โดยตรง เลือกเฟ้นคอตตอนคุณภาพดีจากเชียงใหม่ ส่งไปย้อมสีธรรมชาติท่ีทอแสง คอตตอน วิลเลจ ในอุบลราชธานี ก่อนเปิดให้สั่งจองได้ท่ัวโลก ซึ่งจิ๊จะทอและตัดเย็บเองแบบ Custom-made ทุกตัว เพื่อให้ Sani Knits เป็นแบรนด์เล็กที่ทำเสื้อผ้าที่คนใส่หัวใจพองโต
Grofe
instagram: @grofe_
“สูทหรือเนกไทใช้ผ้าเนื้อดีและมีกระบวนการตัดเย็บที่ซับซ้อนแต่ถูกทิ้งขว้าง” กอล์ฟ-ศุภกร บัวเรือน ผู้รักของวินเทจมากจนเรียกว่า ‘น้อง’ จึงทนไม่ได้ทุกทีที่เห็นของมือสองกองกันอย่างไร้คนเหลียวแล เขาหยิบเนกไทขึ้นมาเย็บต่อกัน หยิบเอากางเกงกับเข็มขัดมาประกอบใหม่ ของวินเทจผ่านมือเขาเมื่อไร เป็นได้กลายเป็นไอเท็มสุดเก๋ราวกับงานคารวะ Yohji Yamamoto “ถ้าคุณอยากเย็บมันเข้าด้วย กันก็ทำเลย อย่าปล่อยให้น้องกองอยู่อย่างไร้ชีวิต” กอล์ฟวิงวอนอย่างไม่ฝากร้าน
Seire
แทมม่ี-ธนพร อมรเกษมวงศ์ และพลอย-อรไท เตชะมหพันธ์ บัณฑิตสถาปัตย์จาก AAA (Architectural Association School of Architecture) ในลอนดอนไปเสาะหาฝ้ายอินทรีย์คุณภาพดีที่อำเภอโขงเจียม อุบลราชธานี ซึ่งมีวิถีปลูกฝ้ายอินทรีย์ริมแม่น้ำโขงมาต้ังแต่พ.ศ. 2400 แล้วนำไปย้อมสีที่ทอแสงคอตตอนวิลเลจ ที่อบุลฯ ก่อนถักทอและตัดเย็บที่กรุงเทพฯ เป็นเสื้อผ้าท่ีมีลวดลายและเรื่องราวของธรรมชาติ ชุมชน และภูมิปัญญาชาวบ้านในดีไซน์ของแฟชั่น Gen Z แห่งแบรนด์ที่ชื่อ ‘เสรี’
TEXT : Suphakdipa P.